โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ การทราบสถานการณ์ยุงลายและหาพื้นที่เสี่ยงของโรคเชิงพื้นที่ตามภูมิภาค โดยใช้เทคนิค GIS และสถิติขั้นสูง ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สถานการณ์ยุงลายจากการสำรวจด้วยกับดักไข่
วิเคราะห์ด้วยเทคนิค GIS วิธี Ordinary Kinging เพื่อการประมาณค่าประชากรยุงลายเชิงพื้นที่ในแต่ละภาค
|
ยุงลายภาคเหนือ
 |
จากผลการสำรวจประชากรยุงลายปี 2563 ของ 8 จังหวัดภาคเหนือ ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร น่าน พะเยา พิษณุโลก ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ โดยมีค่าเฉลี่ยไข่ เท่ากับ 1.42, 1.50, 0.21, 2.01, 0.51, 1.12, 0.82, 8.16 ตามลำดับ จากการประมาณค่าเชิงพื้นประชากรยุงลาย ใช้จุดสำรวจ ด้วยวิธี Kringing ที่ภาคนี้พบประชากรยุงลายมากเฉพาะบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ที่บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์
|
|
ยุงลายภาคกลาง
 |
จากผลการสำรวจประชากรยุงลายปี 2563 ของ 8 จังหวัดภาคกลาง ดังนี้ จังหวัดกาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตราด ระยอง ลพบุรี สระแก้ว เพชรบุรี โดยมีค่าเฉลี่ยไข่เท่ากับ 5.30, 23.34, 9.17, 10.99, 9.27, 13.51, 9.59, 7.28 ตามลำดับ จากการประมาณค่าเชิงพื้นประชากรยุงลาย ใช้จุดสำรวจ ด้วยวิธี Kringing ที่ภาคนี้พบประชากรยุงลายมากบริเวณด้านตะวันออก และ ด้านเหนือของภาคบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง ลพบุรี และสระแก้ว |
|
ยุงลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 |
จากผลการสำรวจประชากรยุงลายปี 2563 ของ 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม สกลนคร สุรินทร์ อุบลราชธานี เลย โดยมีค่าเฉลี่ยไข่เท่ากับ 1.01, 3.01, 3.66, 3.72, 4.02, 1.85, 1.70, 2.60 ตามลำดับ จากการประมาณค่าเชิงพื้นประชากรยุงลาย ใช้จุดสำรวจ ด้วยวิธี Kringing ที่ภาคนี้พบประชากรยุงลายมากเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้และด้านกลางของภาค บริเวณจังหวัดนครราชสีมา |
|
รายละเอียดผลการวิเคราะห์แต่ละภาค




วิเคราะห์โดย ดร.จิตติ จันทร์แสง และคณะ
ฝ่ายพิพิธภัณฑ์แมลงและอนุกรมวิธานและสนับสนุนงานกีฏวิทยา
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
|